ฤาษีทัศนาจร เล่มที่ ๑

40 พระเจ้ากือนา เป็นโอรสของพรเจ้าผายูหรือพระเจ้าตายู แล้วก็พระนางจิตราราชเทวี ซึ่ง เป็นราชธิดาของจ้าววัวเถลิง เจ้านครเชียงของเวลานั้น นคร คือ เมืองหลวงแต่ละเมืองน่ะ มัน เล็กๆ จัง ประเทศเล็กๆ พระองค์ทรงมีพระอนุชาร่วมพระอุทร คือร่วมท้องกับแม่น่ะ อีกองค์หนึ่ง คือท้าวมหาพรหม หรือ จ้าวมหาพรหม ไม่ใช่พระเจ้าพรหมมหาราชนะ คนละคน พระ เจ้ากือนานั้นประสูติ เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๓ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่าพ่อท้าวพันตู อ๋อ ลงตูๆ ตู้ๆ เหมือนกันนี่นะ ต่อมาเจริญวัยแล้วมีนามว่าพ่อท้าวเวสภู ฮี่ พระราชบิดาพระราชทานที่เดิม ที่ดินพันนาให้หนึ่งตื้อ ไม่รู้แล้วไอ้ตื้อๆ ต้าๆ นี่ ไม่รู้มันเท่าไร มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ที่เขาเขียน ว่าพระเจ้าเก้าตื้อ นี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน ใครอยากจะรู้ก็ไปถามชาวเชียงใหม่เขาดู ขี้เกียจถามอีตาคน นั้น แกไม่บอก จึงมีพระนามเปลี่ยนไปอีกว่าพ่อท้าวตือนา ฮื่อ อ้อ ตือนา แล้วเมื่อพระเจ้าผายูพระ ราชบิดาเสด็จมาประทับอยู่ที่นครเชียงใหม่ พอพ่อท้าวตือนาหรือพ่อท้าวกือนาเจริญพระชันษา ยิ่งขึ้น ก็โปรดให้ไปครองเมืองชัยบุรี เชียงแสน ครั้นพระเจ้าผายูสวรรคต เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๙ พ่อ ท้าวกือนาก็เสวยราชย์ มีพระนามว่า พระเจ้ากือนา ขณะนั้นมีพระชันษาได้ ๑๖ ปี แหม เถลิงราชย์ พร้อมๆ กับ ร.๕ บุญมาก มีพระมเหสีชื่อว่าสุนทราราชเทวี แหม ก็สุนทรนั่นแหละ สุนทร แปลว่าพูดดีราชเทวี เมื่อพระเจ้ากือนาเสวยราชย์แล้ว ก็โปรดให้พระอนุชา คือพ่อท้าวหรือพระเจ้า มหาพรหมไปครองเมืองเชียงรายในสมัยของพระองค์นั่นเอง ได้ทรงกระทาสัมพันธไมตรีกับ พระเจ้าเลอไทย กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นอันดี อ๋อ นี่แสดงว่ายุคหลังของสุโขทัยนี่เอง แล้วก็ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชประสงค์จะได้พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี มาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ คาว่าอรัญวาสีนี่แปลว่า มีปกติชอบอยู่ป่า เอาพระป่า คือพระป่านี่เขาบอก ว่าดีกว่าพระเมือง เพราะคาวโลกีย์มันน้อย แกไม่ค่อยมีอะไร พระเมืองนี่มีคาวโลกีย์มาก บวชไป บวชมาบวชมาบวชไป เลยบวชหาศักดิ์ศรี หายศถาบรรดาศักดิ์ บวชหาเงินหาทอง เวลาบวชอยู่ ไม่หยิบสตางค์ ต่อหน้าคนไม่หยิบ แต่แหม เวลาตายแล้วมีเงินเป็นสิบๆ ล้าน มีพินัยกรรม นี่ เขาเคร่งกันมาก นี่ท่านประเสริฐศรีจะว่าอย่างไรนี่ พวกที่เคร่งมากๆ ไม่หยิบสตางค์นี่ เวลาตาย เข้าแล้วมีเงินเป็นสิบๆ ล้านนี่จะว่าอย่างไร สู้พระหยิบสตางค์ไม่ได้ละ มันใช้ได้ เลยเอาเงินของ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzAxNDYz