ฤาษีทัศนาจร เล่มที่ ๑

121 ๒. ความโกรธ ความพยาบาท ๓. ความง่วงเหงาหาวนอนในขณะที่ปฏิบัติความดี ๔. ปล่อย อารมณ์ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ทรงอารมณ์เดิมไว้ ๕. สงสัยในคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ห้าประการนี้ ต้องไม่มีในอารมณ์ใจของเราเด็ดขาด เราบังคับมันไว้ ว่าเราจะไม่คบกับอารมณ์ชั่วทั้ง ๕ ประการ เมื่อเราตัดอารมณ์อย่างนี้ได้แล้ว จิตใจเราก็สบาย มีอารมณ์เป็นสมาธิ ตอนนี้ซี บรรดา ลูกหลานทั้งหลาย จะทาใจให้ได้ทิพยจักขุญาณ เห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ หรือว่าจะ เป็นมโนมยิทธิ ถอดกายภายในไปเที่ยวนรก สวรรค์โลกก็ได้ตามอัธยาศัย หรือจะฝึกอภิญญา สมาบัติก็ได้ แต่ว่าวิธีปฏิบัตินะ ลูกหลานที่รัก จงอย่าทาให้ลาบาก นึกถึงคาสั่งสอนขององค์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ให้ดี ทั้งนี้ก็เพราะองค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่าปฏิบัติแบบสบายๆ ที่เรียกกันว่ามัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่ว่าจะทาให้เครียดเกินไป แต่การเครียดเกินไปนี่ก็สุดแล้วแต่ บุคคล เพราะว่าบางคนเขานั่งกรรมฐานได้ ๓ ชั่วโมง ๔ ชั่วโมง อันนี้เขาสบาย จะไปหาว่าเขาทา เครียดเกินไปก็ไม่ได้ และไอ้การเจริญสมาธิ ก็ไม่ใช่ว่าจะนั่งขัดสมาธิอย่างเดียว แต่นั่งให้มัน สบาย ท่าไหนมันไม่ฝืนกายท่านั้นเรานั่ง จะนั่งก็ได้ จะนอนก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ อย่าง อาศรมของฤาษีลิงดา ขอโทษ จะอ้างตัวเกินไป ไม่ได้อวด ที่อาศรมนี้ปล่อยไปตามสบาย เพราะว่าตามใจพระพุทธเจ้า คือว่า ต้องการอย่างเดียว ให้จิตใจของท่านทั้งหลายนั้น ที่มานั้น เข้าถึงความมีจิตเป็นสมาธิ ไม่ให้ฝืนกาย แต่ว่าสานักใดที่ท่านจะมีอาการเครียด แต่ว่าอาการ เครียดเป็นที่สบายของท่าน ก็อย่าไปโทษท่านนะ อย่าไปหาว่าท่านทาผิด ไอ้คาว่าสบายในที่นี้นี่ มันไม่แน่นี่ บางคนนั่งน้อยไม่สบาย ต้องนั่งให้นานๆ ใจมันถึงจะสบาย บางคนก็นั่งนานไม่ได้ มันเมื่อย มันปวด อย่างนี้ผ่อนนอนเสียมั่งก็ได้ เดินก็ได้ ยืนก็ได้ แต่คุมกาลังใจทรงไว้ในความดี คือว่า ป้องกันอารมณ์เลวๆ ๕ ประการที่กล่าวมาแล้ว อย่าให้เข้าถึงใจ ตอนนี้ก็ฝึกใจให้มันสบาย ให้ทรงอารมณ์ดีเข้าไว้ ตามเวลาที่กาหนด ทีนี้มาตั้งจิตเป็นสมาธิได้แล้ว เท่านี้ เขาเรียกว่า จิตเป็น สมาธิ มันไม่ยากหรอกลูกหลานที่รัก นี่เราฝึกกีฬาสมาธิด้านทิพยจักขุญาณ หรือมโนมยิทธิ หรือ ว่าอภิญญา ๖ อย่างนี้ก็ทาได้หรือว่าจะทาใจให้เข้าถึงสมาบัติ ๘ หรืออรูปฌานก็ทาได้ อย่างนี้ ถ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy NzAxNDYz